Consulate
U.S. Consulate Fukuoka
(Est. April 28, 1952)810-0052 2-5-26 Ohori, Chuo-ku, Fukuoka City
092-739-9088
Consulate General of South Korea, Fukuoka
(Est. January 27, 1966)810-0065 1-1-3 Jigyohama, Chuo-ku, Fukuoka
092-771-0461
Consulate-General of The People's Republic of China in Fukuoka
(Est. April 17, 1985)810-0065 1-3-3 Jigyohama, Chuo-ku, Fukuoka City
092-713-1121
Consulate-General of Vietnam in Fukuoka
(Est. April 22, 2009)810-0801 5-3-8, Nakasu, Hakata-ku, Fukuoka
Aqua Hakata 4F092-263-7668
Royal Thai Consulate-General in Fukuoka
( Est. October 1, 2018)810-0001 4-1-37, Tenjin, Chuo-ku, Fukuoka-shi, Fukuoka
2nd Floor Dai Ichi Myojo092-739-9088
เมืองพี่น้อง
รัฐฮาวาย(สหรัฐอเมริกา)
1981.9.25
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2523 ได้นำ "Hakata Gion Yamakasa" เข้าร่วมเทศกาล Aloha Week Festival และในเวลาเดียวกันก็ได้จัดงาน "Fukuoka Products Exhibition" ขึ้น ซึ่งเป็นแรงผลักดันในการส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรกันระหว่างทั้งสองเมือง ต่างจึงตัดสินใจที่เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องกัน
และหลังจากได้ปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องได้ 1 ปีในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2524 จึงได้มีพิธีลงนามความสัมพันธ์ที่เมืองโฮโนลูลู รัฐฮาวาย โดยนายอาริโยชิ ผู้ว่าการรัฐฮาวาย และนายคาเมอิ ผู้ว่าราชการจังหวัดฟุกุโอกะ
มณฑลเจียงซู(สาธารณรัฐประชาชนจีน)
1992.11.4
ในเดือนเมษายน พ.ศ.2535 โอกาสที่นายเจียง เจ๋อหมิน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้มาเยือนจังหวัดฟุกุโกอะ ผู้ว่าฯ ได้กล่าวปรารภว่าตั้งใจที่จะสถาปนาความสัมพันธ์ฉันมิตรกับสาธารณประชาชนจึนภายในปีงบประมาณนี้ ซึ่งเป็นปีที่ครบรอบ 20 ปีการฟื้นคืนความสัมพันธ์ทางการฑูตญี่ปุ่น-จีน จึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาการสถาปนาความสัมพันธ์ฉันมิตรภาพ ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายบริหาร ฝ่ายสภา และภาคเอกชน หลังจากได้ส่งทีมสำรวจและปรึกษาหารือจนตัดสินใจจะสถาปนาความสัมพันธ์ฉันมิตรกับมณฑลเจียงซู ในเดือนกันยายน พ.ศ.2535 มีการยื่นขอเป็นสัมพันธมิตร และจัดพิธีลงนามในวันที่ 4 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน ณ เมืองหนานจิง มณฑลเจียงซู ระหว่างนายเฉิน ผู้ว่าการมณฑลเจียงซู และนายโอคุดะ ผู้ว่าราชการจังหวัดฟุกุโอกะ
กรุงเทพมหานคา(ประเทศไทย)
2006.2.8
เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับเอเชียให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จึงได้ตัดสินใจที่จะทำการแลกเปลี่ยนกับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเชียในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของจังหวัด ได้เลือกกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม โดยในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 ได้ส่งทีมงานสำรวจเดินทางไปกรุงเทพมหานครและเข้าพบนายอภิรักษ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อยืนยันความตั้งใจเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน เมื่อได้รับการตอบรับอย่างกระตือรือร้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 นายอาโสะ ผู้ว่าราชการจังหวัดฟุกุโอกะจึงได้นำกลุ่มคณะไปเยือนกรุงเทพมหานคร และลงนามในข้อตกลงความสันพันธ์ฉันมิตร
กรุงเดลี(ประเทศอินเดีย)
2007.3.5
เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับเอเชียให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จึงได้ตัดสินใจที่จะทำการแลกเปลี่ยนกับอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเชียในด้านไอทีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเลือกกรุงเดลีซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ได้ส่งทีมงานสำรวจไปในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 และในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 นายอาโสะทีม ผู้ว่าราชการจังหวัดฟุกุโอกะได้นำคณะไปเยือนกรุงเดลี เพื่อเข้าพบกับหัวหน้าคณะรัฐมนตรีของเขตปกครองเดลีและทำการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับการสานสัมพันธไมตรี เมื่อได้ความเห็นชอบของรัฐบาลอินเดียแล้ว จึงได้ประกาศการสานสัมพันธไมตรีระหว่างจังหวัดและกรุงเดลีในการประชุมสุดยอดผู้นำของประเทศญี่ปุ่นและอินเดียในเดือนธันวาคม พ.ศ.2549 และสถาปนาความความสัมพันธ์ฉันมิตรในเดือนมีนาคม พ.ศ.2550
กรุงฮานอย(ประเทศเวียดนาม)
2008.2.22
เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับเอเชียให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จึงได้ตัดสินที่จะทำการแลกเปลี่ยนกับประเทศเวียดนามซึ่งเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียที่มีการพัฒนาประเทศได้รวดเร็วแบบก้าวกระโดดเนื่องจากเป็นแหล่งของแรงงานที่ศักยภาพและมีความตั้งใจทำงาน โดยตัดสินใจเลือกกรุงฮานอยซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม มีการส่งทีมงานสำรวจไปในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 และดำเนินการเจรจาขั้นปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จนในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 นายอาโสะ ผู้ว่าราชการจังหวัดฟุกุโอกะได้นำคณะไปเยือนกรุงฮานอยและลงนามในข้อตกลงความสัมพันธ์ฉันมิตร
หนึ่งเมืองสามจังหวัดทางชายฝั่งทางใต้ของเกาหลีใต้ กับสามจังหวัดทางตอนเหนือของคิวชูและจังหวัดยามากุจิ
ประกาศแถลงการณ์ร่วมกัน
ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้มีความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์กัน มีความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างสามจังหวัดทางตอนเหนือของภูมิภาคคิวชูในญี่ปุ่น (จังหวัดฟุกุโอกะ ซากะ และนางาซากิ) กับหนึ่งเมืองและสามจังหวัดทางชายฝั่งทางใต้ของเกาหลีใต้ (ปูซาน โจลลานัมโด คยองซังนัมโด และจังหวัดปกครองตนเองพิเศษเชจู ) ที่ต่างมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองที่เปรียบเสมือนประตูของการแลกเปลี่ยนระหว่างทั้งสองประเทศผ่านช่องแคบญี่ปุ่นเกาหลี
ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์และภูมิหลังทางประวัติศาสตร์นี้ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2530 ได้มีการจัดประชุมหารือระหว่างผู้ว่าการจังหวัดสามจังหวัดที่อยู่ตอนเหนือของเกาะคิวชู ณ เมืองทสึชิมะ จังหวัดนางาซากิ โดยได้หารือกันเกี่ยวกับการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างทั้งสองภูมิภาค เมื่อได้ผลการประชุมนี้และนำไปหารือกับเกาหลีใต้แล้ว จึงได้ดำเนินการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับสถานการณ์ความสัมพันธ์ในปัจจุบันและแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างสองภูมิภาคในอนาคตในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2535 ซึ่งในที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้มีการจัดประชุมแลกเปลี่ยนของผู้นำเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนในมิติต่างๆ โดยใช้ชื่อการประชุมว่า "การประชุมการแลกเปลี่ยนของผู้ว่าราชการเมืองเลียบชายฝั่งช่องแคบญี่ปุ่นเกาหลี"
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2535 ได้จัด "การประชุมแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ว่าราชการเมืองเลียบชายฝั่งช่องแคบญี่ปุ่นเกาหลีครั้งที่ 1'' ที่เมืองเชจู ประเทศเกาหลีใต้ และประกาศแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการดำเนินโครงการร่วมกันเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างพื้นที่ชายฝั่งทะเลช่องแคบญี่ปุ่นเกาหลีและการจัดประชุมผู้ว่าราชการตามกำหนดเป็นระยะ พ.ศ.2542 จังหวัดยามากุจิเริ่มเข้าร่วม พ.ศ.2551 เปลี่ยนชื่อเป็น "การประชุมผู้ว่าราชการเพื่อการแลกเปลี่ยนของเมืองเลียบชายฝั่งช่องแคบญี่ปุ่นเกาหลี(Japan-Korea Strait Governor Meeting)