challenger
福岡県の基礎情報

อุตสาหกรรมหลัก

pickup

GDP ของจังหวัดฟุกุโอกะ

178,027 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายได้ต่อคนของผู้อยู่อาศัยในจังหวัด:
24,790 ดอลลาร์สหรัฐ

(ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2565)

ที่มา: ฝ่ายสำรวจสถิติประจำจังหวัด
(รายงานการคำนวณเศรษฐกิจครัวเรือนภายในจังหวัดและเขตเมืองย่อยประจำปี 2563)
คำนวณอัตราแลกเปลี่ยนที่ 106.09 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเฉลี่ยปี 2563)
ที่มา: สำนักงานคณะรัฐมนตรี (รายงานเศรษฐกิจรายเดือน ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญ)

เกษตรกรรม

จังหวัดฟุกุโอกะมีพื้นที่เพาะปลูก 78,900 เฮกตาร์ (ข้อมูลปี 2565) ซึ่งคิดเป็น 16% ของพื้นที่จังหวัด โดยมีสัดส่วนที่เป็นนาข้าวสูงถึง 81% (ค่าเฉลี่ยของประเทศ 54%)

ป่าไม้และอุตสาหกรรมป่าไม้

พื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดฟุกุโอกะมีประมาณ 224,000 เฮกตาร์ ซึ่งคิดเป็น 45% ของพื้นที่จังหวัด ป่าไม้ช่วยกักเก็บและเติมน้ำให้แหล่งน้ำ ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน และมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นใจต่อการใช้ชีวิตอย่างมั่นคงปลอดภัยของผู้ที่อยู่อาศัยในจังหวัด

อุตสาหกรรมประมง

ในจังหวัดฟุกุโอกะมีการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะของพื้นที่ เช่น พื้นที่ทะเลอย่าง ทะเลชิคุเซ็น ทะเลอาริอาเกะ ทะเลบูเซ็น และแหล่งน้ำจืดอย่างแม่น้ำและทะเลสาบ
มีผลิตภัณฑ์อาหารทะเลมากมายหลายชนิด รวมถึงปลากระพงแดงและสาหร่ายซึ่งจังหวัดฟุกุโอกะเป็นหนึ่งในผู้ผลิตที่ดีที่สุดของประเทศ

การพาณิชย์และอุตสาหกรรม

จังหวัดฟุกุโอกะเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมวัสดุพื้นฐาน เช่น เหล็ก ถ่านหิน และเคมีภัณฑ์ รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร มาโดยตลอด แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีการเทน้ำหนักไปยังอุตสาหกรรมที่ต้องใช้การแปรรูปและการประกอบในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์มากขึ้น
นอกจากนี้ ยังเน้นอุตสาหกรรมการผลิตอาหารมากขึ้น เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ป่าไม้ และประมงคุณภาพสูงมากมาย ตลอดจนอยู่ใกล้กับพื้นที่การบริโภคขนาดใหญ่และสภาพแวดล้อมการกระจายสินค้าที่ดี

Growth Industry
อุตสาหกรรมที่มีการเติบโตซึ่งจะช่วยเกื้อหนุนอนาคตของฟุกุโอกะ

ฟุกุโอกะมีมหาวิทยาลัย, สถาบันการวิจัยขั้นสูง และอุตสาหกรรมการผลิตซึ่งมีเทคโนโลยีล้ำสมัยอยู่จำนวนมาก
ทางจังหวัดมุ่งเน้นส่งเสริมการเข้าร่วมและร่วมทุนของบริษัทในหมวดหมู่อุตสาหกรรมที่มีการเติบโตเหล่านี้ซึ่งเป็นเป้าหมายในการขยายตลาด

1. อุตสาหกรรมชีวภาพ

ฟุกุโอกะเป็นที่ยอมรับในฐานะชุมชนชีวภาพชั้นแนวหน้าและอยู่ในระหว่างการเร่งพัฒนาเป็นเมืองศูนย์กลางเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง

จังหวัดฟุกุโอกะทำงานร่วมกับเมืองคุรุเมะมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 โดยใช้ "Fukuoka Prefectural Bio Industry Center Promotion Conference" ซึ่งเป็นการรวมตัวของภาคอุตสาหกรรม, ภาคการศึกษา และภาครัฐบาลเป็นฐานในการรวบรวมกลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องด้านชีวภาพ
ซี่งความร่วมมือดังกล่าวสามารถเพิ่มจำนวนบริษัทที่เกี่ยวข้องด้านชีวภาพจาก 32 บริษัทในช่วงแรกขึ้นเป็นกว่า 230 บริษัท ในฟุกุโอกะมี Bioventure ซึ่งเป็นที่จับตามองจากทั้งในประเทศญี่ปุ่นเองและจากต่างประเทศเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น บริษัท Bonac ที่ได้รับความสนใจจากแนวทางการแพทย์วิถีใหม่จากการพัฒนายาต้าน COVID-19 ด้วยกรดนิวคลีอิก และบริษัท EditForce ที่มีจุดแข็งด้านเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม เป็นต้น
ข้อได้เปรียบเหล่านี้ทำให้จังหวัดฟุกุโอกะได้รับการประเมินค่อนข้างสูง และได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะรัฐมนตรีให้เป็น "ชุมชนชีวภาพระดับภูมิภาค" แห่งเดียวในเขตญี่ปุ่นตะวันตก (มีทั้งหมด 4 แห่งทั่วประเทศ) ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564

2. อุตสาหกรรมอวกาศ

จังหวัดฟุกุโอกะได้รับเลือกให้เป็นรัฐบาลท้องถิ่นแห่งแรกในภูมิภาคคิวชูที่ทำการส่งเสริมการสร้างธุรกิจอวกาศ ท้าทายวงการอวกาศด้วยเทคโนโลยีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาในฟุกุโอกะ

ในจังหวัดฟุกุโอกะเป็นแหล่งรวมของบริษัทที่มีศักยภาพในการทำธุรกิจอวกาศ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตซึ่งมีเทคโนโลยีล้ำสมัย และ IT venture ที่สร้างบริการใหม่ๆ ไม่เหมือนใคร เป็นต้น
iQPS Inc. (เมืองฟุกุโอกะ) ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและปล่อยดาวเทียม SAR ดาวเทียมขนาดเล็กที่ได้มาตรฐานสูงสุดในโลกซึ่งสามารถสังเกตพื้นผิวโลกได้ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวัน กลางคืน หรือในสภาพอากาศแบบใดก็ตาม อีกทั้งยังประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพด้วยความละเอียดสูงสุดของโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564 。iQPS ตั้งเป้าที่จะขยายระบบเพื่อให้สามารถสังเกตพื้นผิวโลกได้ในทุก 10 นาทีด้วยกลุ่มดาวเทียม 36 ดวงหลังให้ได้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2568
ในเดือนกันยายน พ.ศ.2563 สำนักงานคณะรัฐมนตรีได้เลือกจังหวัดฟุกุโอกะเป็นรัฐบาลท้องถิ่นแห่งแรกในภูมิภาคคิวชูที่ส่งเสริมการสร้างธุรกิจอวกาศ

3. บล็อกเชน

รวมบุคลากรชั้นแนวหน้าและเทคโนโลยีล้ำสมัยของญี่ปุ่นเพื่อสร้างเป็นศูนย์กลางบล็อกเชนชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น

บล็อกเชนที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นเทคโนโลยีสำหรับจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นที่จับตามองจากความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับ, ป้องกันการปลอมแปลงข้อมูล และลดข้อผิดพลาดในการทำงาน
นอกจากจังหวัดฟุกุโอกะจะเป็นที่ตั้งของบริษัทสตาร์ทอัพด้านบล็อกเชนและวิศวกรสายไอทีทักษะสูงเป็นจำนวนมาก ยังมีคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์สาขาคอมพิวเตอร์ของ Kyushu Institute of Technology และคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์สาขาอุตสาหกรรมของ Kindai University ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัยในสาขาบล็อกเชนและผลิตวิศวกรที่ยอดเยี่ยม
เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบในการส่งเสริมอุตสาหกรรมไอทีทั้งหลายนี้ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2563 เป็นต้นมาจังหวัดฟุกุโอกะได้เริ่มการสนับสนุนอย่างเต็มรูปแบบสำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนรวมถึงการพัฒนาบุคลากร และกำลังกลายเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของบล็อกเชนในญี่ปุ่น

4. อุตสาหกรรมพลังงาน

พัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานไฮโดรเจน เชิญชวนบริษัทพลังงานลมให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น และริเริ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่ง

ประเทศญี่ปุ่นกำลังพยายามทำให้พลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งพลังงานหลักที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า โดยมีเป้าหมายเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ.2593ในบรรดาแหล่งพลังงานหมุนเวียน การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่งเป็นตัวเลือกที่คาดว่าเหมาะสมสำหรับประเทศญี่ปุ่นซึ่งล้อมรอบด้วยมหาสมุทรทั้ง 4 ด้าน
นอกจากส่งเสริมให้มีการริเริ่มผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่ง จังหวัดฟุกุโอกะยังทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา และรัฐบาลเพื่อเชิญชวนบริษัทพลังงานลมให้เข้ามาลงทุนมากขึ้นจังหวัดยังได้จัดตั้ง "Fukuoka Strategy Conference for Hydrogen Energy" ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา และรัฐบาล โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างสังคมพลังงานไฮโดรเจนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
นอกจากการวิจัยและพัฒนาในหลากหลายด้านตั้งแต่การผลิต จัดเก็บ ขนส่ง ไปจนถึงใช้ประโยชน์พลังงานไฮโดรเจน ยังดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และพัฒนาบุคลากร รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาและรวมกลุ่มของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับพลังงานไฮโดรเจนด้วย

5. อื่นๆ

อุตสาหกรรมหลักที่มีการเติบโตในฟุกุโอกะและภูมิภาคคิวชู

อุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จและถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตในภูมิภาคคิวชู ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อม, อุตสาหกรรมเกษตรป่าไม้และประมง และอุตสาหกรรมยานยนต์
●อุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อม
นอกจากการรีไซเคิลขวดพลาสติกและเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านแล้ว ยังมีการรีไซเคิลโลหะหายากที่ใช้ในแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนและผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าทรัพยากรที่มีจำกัดจะไม่สูญเปล่า
●อุตสาหกรรมเกษตร ป่าไม้ และประมง
อุตสาหกรรมเกษตร ป่าไม้ และประมงเป็นอุตสาหกรรมที่เฟื่องฟูในภูมิภาคคิวชู โดยคิดเป็น 20% ของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและการประมงที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะฟุกุโอกะที่มีผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและทางทะเลซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น สตรอเบอร์รี่อะมะโอ และชายาเมะ เป็นต้น
●อุตสาหกรรมยานยนต์
ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อย่างนิสสัน โตโยต้า และไดฮัทสุมีฐานการผลิตอยู่ทางตอนเหนือของภูมิภาคคิวชู โดยสัดส่วนการผลิตรถยนต์มีมากกว่า 15% ของตลาดภายในประเทศ